โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่สำหรับพระภิกษุ สามเณร

 

 โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่สำหรับพระภิกษุ สามเณร
ในพระราชูปถัมภ์ฯ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา   ๘๔ พรรษา
     ธันวาคม ๒๕๕๔

 
๑. ความเป็นมา
     การจัดบริการสาธารณสุขของประเทศไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาได้มีการจัด
บริการแบบผสมผสานทั้งด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค  รักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ ซึ่งเป็นจุดแข็งของระบบเอื้อต่อการปรับตัวไปสู่ทิศทางของ  Good health approach ประเทศไทยได้นำกลวิธีการสาธารณสุขมูลฐานมาปรับใช้ตั้งแต่ปี ๒๕๒๑ เป็นต้นมา โดยพยายามดึงภาคประชาชนเข้ารวมกิจกรรมทางด้านสุขภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนพึ่งตนเอง แต่ประสบปัญหาเกี่ยวกับการจัดบริการสุขภาพ คือ มีค่าใช้จ่ายสูงมากในการรักษาพยาบาลที่ผูกติดกับเทคโนโลยีและวิทยาการชั้นสูงบางครั้งมีบริการที่ราคาแพงเกินความจำเป็นจากการรักษาพยาบาลซึ่งเป็นการให้บริการเชิงรับ และจากการประชุมระหว่างประเทศ เรื่องส่งเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 1 ณ กรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา ในปี ๒๕๒๙ ได้ให้ความหมายของ การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการเพิ มสมรรถนะให้คนมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการควบคุมและส่งเสริมให้สุขภาพของตนเองดีขึ้น ในการบรรลุสุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ปัจเจก บุคคลหรือกลุ่มบุคคลควรที่จะต้องมีความสามารถที่จะบ่งบอกและตระหนักถึงความมุ่งมาดปรารถนาของตนเองที่จะสนองความต้องการต่างๆ ของตนเองและสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงหรือปับตนให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ดังนั้นเรื่องสุขภาพจึงถูกมองในลักษณะของความจำเป็นสำหรับชีวิตประจำวันมิใช่เพียงจุดมุ่งหมายของการดำรงชีวิตเท่านั้น
  
     การส่งเสริมสุขภาพ เน้นการสร้างสุขภาพและการป้องกันการเจ็บป่วย การจัดบริการด้านส่งเสริมสุขภาพต้องอาศัยองค์ความรู้หลากหลายสาขาไม่ใช่ความรู้ทางการแพทย์และการสาธารณสุขอย่างเดียว รวมทั้งองค์ความรู้อื่นๆ ได้แก่ สังคมวิทยา จิตวิทยา เศรษฐศาสตร์ การพัฒนาชุมชน เป็นต้น ดังนั้นการทำงานเป็นทีมจึงมีความสำคัยมาก
 
     ฉะนั้นระบบบริการส่งเสริมสุขภาพต้องมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบมีมาตรฐาน และกลมกลืนกับการควบคุมป้องกันโรค การรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพ โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องให้แก่ประชาชน เน้นการพัฒนาพื้นฐานในการดูแลสุขภาพตนเองอย่างถูกต้องของประชาชนเพื่อให้สุขภาพทางกาย จิต และสังคมทุกคนดี มีภูมิต้านทานโรค ไม่แจ็บป่วยหรือเจ็บป่วยแล้วจะไม่ป่วยซ้ำ
 
     ในอดีตที่ผ่านมาพระสงฆ์ในชนบทเวลาอาพาธจะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่นในอำเภอ หรือจังหวัดของตนปะปนและแออัดกับคนไข้คฤหัสถ์ ซึ่งมีจำนวนมากอยู่แล้ว จนเตียงและห้องไม่เพียงพอ อันเป็นภาพไม่เหมาะสม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงทราบถึงปัญหาของพระภิกษุสงฆ์อาพาธ และทรงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสงฆ์ ซึ่งคณะสงฆ์และประชาชน ๑๙ จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือดำริจัดสร้างขึ้นเป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลเฉลิมพระชนม์ ๕๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ พร้อมพระราชทานนามโรงพยาบาลนี้ว่า โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ และได้เสด็จฯ พร้อมด้วยพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ไปทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลแห่งนี้ ณ บ้านปลาดุก หมู่ ๓ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยพระราชานุญาต สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามราชมกุฎราชกุมาร ต่อมาในวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๔๘ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆ์ราชสกลมหาสังฆปริณายกได้รับโครงการก่อสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณไว้ในพระสังฆราชูปถัมภ์ และในวันที่ ๒๖ กรกฏาคม ๒๕๔๘ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขรับโครงการก่อสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นโรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาในวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑      สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร พร้อมด้วย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศณีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดบริการโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
 
     เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ และโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ ฯ  ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิรัตนตรัย ในพระราชชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยารามคำแห่ง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช      และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดทำโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่สำหรับพระภิกษุ สามเณร ในพระราชูปถัมภ์ เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา   ๘๔ พรรษา ๕   ธันวาคม ๒๕๕๔ ขึ้น
 
๒. วัตถุประสงค์
     ๑. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ เนื่องในมหามงคลวโรกาสพระชนมพรรษาครบ ๘๔ พรรษา ( ๗ รอบ ) ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๔
     ๒. เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและน้อมรำลึก ในพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประชาชนชาวไทยทั่วทั้งประเทศ และทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกพระพุทธศาสนามาโดยตลอดรัชสมัย
     ๓. เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร เกิดความตื่นตัว ตระหนักและเห็นความสำคัญ ให้ความสนใจเข้ารับตรวจสุขภาพตามชุดสิทธิประโยชน์หลักตามโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
     ๔. เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร ทราบปัจจัยเสี่ยงในการที่เกิดภาวะเจ็บป่วยในอนาคตของตนเอง เพื่อให้เกิดความตื่นตัวและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้น
     ๕. เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร ในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ และที่มีภาวะโรคได้รับการให้คำปรึกษาที่เหมาะสม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
     ๖. เพื่อให้พื้นที่ได้รับทราบ และสามารถวิเคราะห์สภาวะสุขภาพของชุมชนอันจะนำไปสู่การร่วมกันกับผู้นำชุมชนและประชาชนในการวางแผนแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของชุมชนได้ตามความเป็นจริง
     ๗. เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการตรวจสุขภาพประจำปีกับฐานข้อมูลการเข้ารับการบริการสุขภาพที่สถานบริการที่เป็นระบบ
     ๘. เพื่อให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การแพทย์แก่พระภิกษุ สามเณร ทั่วประเทศไทยตามวัตถุประสงค์ของมหาเถรสมาคม
     ๙. เพื่อเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมของมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ และโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ โดยเน้นการแพทย์แผนปัจจุบันแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนจีน ควบคู่กันไป
 
๓. ผู้รับผิดชอบโครงการ
     ๓.๑ โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช   สกลมหาสังฆปริณายก
     ๓.๒ มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
     ๓.๓ กระทรวงสาธารณสุข
     ๓.๔ มูลนิธิพระรัตยตรัย ในพระรูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามราชมกุฎราชกุมาร
     ๓.๕ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
     ๓.๖ สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีน
     ๓.๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
     ๓.๘ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
     ๓.๙ มหาวิทยาลัยรังสิต
     ๓.๑๐ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
     ๓.๑๑ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
     ๓.๑๒ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
 
๔. กลุ่มเป้าหมาย
     พระภิกษุ สามเณร ทั่วประเทศ ๗๖ จังหวัด ( มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย)
 
๕. การดำเนินงาน
     ๕.๑ การจัดเตรียมบุคลากรทางการแพทย์ ในรูปแบบ “ หน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” จากบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุขทั้งจากส่วนกลางและจังหวัดที่ดำเนินการ ซึ่งประกอบด้วย   แพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนจีน แพทย์แผนไทย ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ ผู้ช่วยทันตแพทย์ เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์ พนักงานขับรถ   เจ้าหน้าที่อื่นๆ
     ๕.๒ การจัดเตรียมครุภัณฑ์การแพทย์และเวชภัณฑ์ต่างๆ เตรียมคลังยา อุปกรณ์การแพทย์ รถทันตกรรมเคลื่อนที่ รถตรวจสุขภาพ และเอกซ์เรย์เคลื่อนที่สำหรับใช้ในการตรวจรักษาและวินิจฉัย
     ๕.๓ ประสานกับผู้ว่าราชการจังหวัด สาธารณสุขจังหวัด และวินิจฉัย ถวายเจ้าคณะจังหวัด เพื่อประกาศและประชาสัมพันธ์ในท่ามกลางสงฆ์
     ๕.๔ การดำเนินงานการตรวจสุขภาพที่ได้มาตรฐาน

๖.  ระยะเวลาดำเนินงาน
     ตั้งแต่เดือนสิงหาคม  ๒๕๕๓ – ธันวาคม  ๒๕๕๕  ( ใช้เวลาดำเนินการ ๒  ปี

๗.  สถานที่ให้บริการ
     ๗๖  จังหวัดทั่วประเทศไทย

๘.  งบประมาณ
     มูลนิธิโรงพยาบาล  ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณและผู้มีจิตศรัทธาบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศล

๙.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ       
     ๑. คณะสงฆ์และประชาชนได้ทราบถึงพระราชกรณียกิจ และพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อคณะสงฆ์ไทย
     ๒. พระภิกษุ  สามเณร  มีหลักประกันด้านสุขภาพสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพแบบองค์รวมที่มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐาน
     ๓. พระภิกษุ  สามเณร  มีคุณภาพชีวิตที่ดี  สามารถดูแลรับผิดชอบสุขภาพอนามัยและสามารถปฏิบัติกิจของสงฆ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ๔. พระภิกษุ  สามเณร  มีความรู้  ทัศนคติที่ดี  มีความพร้อมด้านสุขภาพเป็นที่พึ่งพิงในการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม  สำหรับบุคคลและสมาชิกในวัด
     ๕. พระภิกษุ  สามเณร  สามารถเป็นผู้นำทางด้านสุขภาพในผสมผสานสุขภาพดี  วิถีพุทธกับวิถีชีวิต  และสามารถให้คำแนะนำแก่ประชาชน  ชุมชนได้อย่างถูกต้อง
     ๖. พระภิกษุ  สามเณร ได้รับการคุ้มครอง  มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี และปลอดภัยต่อวิถีดำรงชีวิตและประกอบศาสนกิจของพระพุทธศาสนา
     ๗. สภาวะสุขภาพ  การเจ็บป่วยและตายด้วยโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงละโรคที่ป้องกันได้ลดลง
     ๘. หน่วยงานสาธารณสุขที่ดูแลสุขภาพพระ พระภิกษุ  สามเณร  มีฐานข้อมูลสภาวะสุขภาพทั้งกลุ่มป่วยกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสุขภาพด
     ๙. หน่วยงานสาธารณสสสุขระดับอำเภอ และระดับจังหวัด  มีข้อมูลเชิงประจักษ์ใช้สำหรับหการวางแผนอัตรากำลังคน  เทคโนโลยี  งบประมาณ  และระบบบริการ  ในการดูแลสุขภาพเพื่อพระภิกษุ  สามเณร   สุขภาพดีวิถีพุทธ  ให้ยั่งยืนแบบองค์รวมต่อไป

๑๐. การประเมินผล
     ประเมินผลจากจำนวน ๕ ณะสงฆ์ที่เข้ามารับบริการและการมีส่วนร่วมขององค์กร การมีส่วนร่วมขององค์กรการกุศลต่างๆ

                                                     ---------------------------------------------



สมัครรับข่าวสาร สุขภาพกับโรงพยาบาล มหาวชิราลงกรณ update กิจกรรมดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพมากมาย
อีเมล:
รับข่าวสาร
ยกเลิก

Valid XHTML 1.0 Transitional

มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
1648 อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา ถ.เจริญกรุง ข.สาธร กทม. 10120
โทร.0-2673-9940-3 ,โทรสาร.0-2673-9941, อีเมล์:info50amfh.org@gmail.com
© All rights reserved. Floral Design. 2009
จำนวนผู้เข้าชม