โครงการระยะที่ ๑ ปรับพื้นที่ ปลูกต้นไม้ และผลิตสมุนไพร และระบบสาธารณูปโภคบางส่วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและสวนป่า ประกอบด้วย:- พื้นที่เกษตรกรรม และสวนป่า พื้นที่ปลูกพืชสมุนไพรเพื่อการผลิตวัตถุดิบและการวิจัย สำหรับการทดลองคุณภาพของสารสำคัญในพืชสมุนไพร ได้แก่ แปลงปลูกพืชสวนสมุนไพร เรือนเพาะชำ พื้นที่ขยายพันธุ์พืช อาคารเก็บวัสดุอุปกรณ์การเกษตร ที่จอดรถ บ้านพักเจ้าหน้าที่/คนงาน สระน้ำ สำหรับน้ำใช้ในการเพาะปลูก เป็นต้น
โครงการระยะที่ ๒ สร้างศูนย์วิจัยและพัฒนา และการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร ซึ่งประกอบด้วย การจัดสร้างอาคารสิ่งก่อสร้าง ดังนี้
- อาคารพิพิธภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ (๑ ชั้น) พื้นที่ใช้สอย ๑๘๙๖ ตารางเมตร ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๔๒,๐๐๐,๐๐๐ บาท
- อาคารวิจัยและพัฒนาสมุนไพร (๑ ชั้น) พื้นที่ใช้สอย ๑๒๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วย แสดง/จำหน่ายสินค้า
และเก็บสต็อกสินค้าสำเร็จรูป ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๓๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
- อาคารพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร (๑ ชั้น) พื้นที่ใช้สอย ๖๘๗ ตารางเมตร ประกอบด้วย วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ/เวชศาสตร์ และผลิต/แปรรูปสมุนไพร ระดับอุตสาหกรรม ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๕,๒๕๕,๐๐๐ บาท
- อาคารเตรียมวัตถุดิบสมุนไพร (๑ ชั้น) พื้นที่ใช้สอย ๑๐๘๒ ตารางเมตร ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๒๔,๐๗๕,๐๐๐ บาท
- อาคารบ้านพักเจ้าหน้าที่ ๓ ชั้น ๒ หลัง ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๔,๐๐๐,๐๐๐ บาท
- ทางเชื่อมระหว่างอาคาร พื้นที่ใช้สอย ๑๒๕ ตารางเมตร ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๒,๕๐๐,๐๐๐ บาท
- ถนนที่จอดรถเฉพาะที่โครงการ พื้นที่ใช้สอย ๓๔๖๖ ตารางเมตร ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ
๒,๕๘๔,๐๐๐ บาท
โครงการระยะที่ ๓ สร้างศูนย์แพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นส่วนฟื้นฟูและสุขภาพบำบัด ประกอบด้วย
- อาคารแพทย์แผนไทย กำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นอาคารเรือนไทยภาคอีสาน เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ถิ่นภูมิปัญญาไทย บริเวณทางเข้าอาคารมีบริเวณพื้นที่จอดรถ รับ-ส่ง ส่วนต้อนรับ การให้การรักษาและการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ จัดให้มีทางเดินเชื่อมไปสู่ทางเข้า ส่วนบริการแพทย์แผนไทย เช่น การนวดไทย การประคบสมุนไพร การอบสมุนไพร เป็นต้น
- อาคารบริการสุขภาพแพทย์ทางเลือก เป็นพื้นที่รองรับให้บริการทางการแพทย์แผนไทย กำหนดอยู่บริเวณเชื่อมต่อจากศูนย์แพทย์แผนไทย เป็นการสร้างรายได้ให้กับโครงการ เพื่อการพึ่งพาตนเอง ประกอบด้วย เรือนรับรองสุขภาพ (Nursing home) อาคารบ้านพัก-รีสอร์ท อาคารส่วนบริการ บ้านพักเจ้าหน้าที่/คนงาน สระน้ำ สำหรับน้ำใช้ในการ เพาะปลูก และสามารถสร้างบรรยากาศให้สดชื่นได้ด้วยสมุนไพรไม้หอม เป็นต้น
- ครัวไทยสุขภาพ เป็นพื้นที่บริการ เรื่อง ของอาหารที่ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาไทย เป็นหลัก เช่น อาหารไทย ผลไม้ไทย เครื่องดื่มจากพืชสมุนไพรไทย ที่มีสรรพคุณตามหลักโภชนาการ ใช้เป็นสถานที่สาธิตและแลกเปลี่ยนความรู้ของชุมชนได้อีกด้วย
- ศูนย์ฝึกนวดไทย เป็นส่วนรองรับบุคคลทั่วไป เพื่อฝึกปฏิบัติการเรียนการสอน การฝึกอบรมทักษะสุขภาพบำบัด เช่น การนวดไทยชนิดต่าง ๆ ด้วยมุ่งหวังการผลิตบุคลากรได้ใช้ความรู้เพื่อประกอบวิชาชีพและพึ่งตนเองได้
- สวนฤาษีดัดตนและพื้นที่ส่งเสริมสุขภาพ เป็นพื้นที่ที่ต้องการความสงบ จัดให้มีศาลาส่วนแสดงของกิจกรรมพื้นที่ภายในศูนย์แพทย์แผนไทย ในด้าน Meditation ในสถานบริการ จัดพื้นที่สำหรับ การสวดมนต์ ทำสมาธิ วิปัสสนาปฏิบัติธรรมและกายบริหารฤาษีดัดตน มีผลเพื่อการบำบัดรักษาโรค เช่น แก้โรคลมทั่วสรรพางค์กาย แก้เมื่อย แก้ปวด และการฝึกโยคะ หมายถึง การเชื่อมต่อผสมผสานฝึกจิตวิญญาณ จิตใจ ร่างกาย เป็นต้น
- บำบัดน้ำเสีย พื้นที่วางระบบกระบวนการทำหรือที่ปรับปรุงน้ำเสียให้มีคุณภาพเป็นน้ำทิ้งที่มีคุณภาพมาตรฐานที่กำหนด อยู่ในบริเวณบริการทางการแพทย์แผนไทย โดยคำนึงถึงระบบระบายน้ำและระบบบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะระบายลงลงสู่แหล่งรองรับน้ำทิ้งต่อไป
- บ้านพักเจ้าหน้าที่/คนงาน เฉพาะการแพทย์แผนไทย ที่ต้องเตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์สำหรับให้บริการทางการแพทย์
- สระน้ำ สำหรับน้ำใช้ในการดูแลรักษางานภูมิทัศน์ และสามารถสร้างบรรยากาศให้สดชื่นได้เป็นอย่างดี
โครงการระยะที่ ๔ สร้างศูนย์การเรียนรู้สวนสมุนไพร ซึ่งประกอบด้วย
- อาคารพิพิธภัณฑ์และฝึกอบรม กำหนดให้เป็นหน่วยงานอำนวยการของโครงการ เพื่อการจัดการงานบริหาร และส่วนแสดงสื่อการอนุรักษ์ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมุนไพรพื้นที่ของส่วนต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ ห้องบรรยาย ห้องประชุมและสัมมนา ส่วนบริการ ร้านขายของที่ระลึก เป็นต้น
- กลุ่มพืชตามอาการโรค พื้นที่สวนสมุนไพรเพื่อการบำบัดรักษา (Healing landscape) รวบรวมพืชสมุนไพร
รวม ไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้คลุมดิน และไม้เลื้อย จัดการแบ่งกลุ่มตามอาการรักษา ทำให้สะดวกกับผู้เข้าชมและง่ายต่อการจดจำเป็นหมวดหมู่
- สมุนไพรความงาม แปลงปลูกพืชสมุนไพรอยู่บริเวณส่วนหน้า เป็นกลุ่มพืชที่นำมาใช้และเป็นที่นิยมมาใช้เป็น
เครื่องสำอาง ซึ่งมีหลายชนิดด้านความสวยความงาม บำรุงเส้นผม รักษาผิวพรรณ เช่น มะขาม (Tamarindus indica Linn.) ว่านหางจระเข้ (Aloevera (L.)Burm.f.) แตงกวา (Cucumis sativus Linn) งา (Sesamum indicum L.) เป็นต้น
- สมุนไพรน้ำมันหอมระเหย เป็นกลุ่มพืชสมุนไพรหลายชนิดที่นำมาสกัดน้ำมันหอมระเหย ซึ่งจะได้กลิ่นที่
แตกต่างกัน เช่น การเวก (Artabotys siamesis Miq) เตยหอม (Pandanus amaryllifolius Roxb.) ดอกมะลิ (Jasminum Sambac (L.) Aiton) ดอกกุหลาบมอญ (Rosa x damascena Mill.) พิกุล (Mimusops elengi L.) แก้ว (Murraya paniculata (L.) Jack.) ไพล มีสรรพคุณ ไล่แมลง รักษาผิวหนังอักเสบ ฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น
- หมู่บ้านอีสานใต้ กำหนดเป็นหมู่บ้านตัวอย่างที่รวบรวมพื้นที่เขตอีสานใต้ ซึ่งเป็นบริเวณที่อุดมไปด้วยแหล่ง
ของพืช โดยเฉพาะพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าทางยา ปรากฏในตำรายาพื้นบ้านอีสานเป็นจำนวนมาก ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ภูมิปัญญาไทย เผยแพร่และฟื้นฟูให้คงอยู่สืบไป จัดให้มีลานบ้านอยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยบ้านแต่ละจังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จัดแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่กลุ่มบ้านเรือนไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สะท้อนความสัมพันธ์ครอบครัว รวมทั้งแสดงการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาของชาวอีสาน เพื่อการศึกษาวิจัย และเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ปลอดภัยต่อประชาชน
โครงการระยะที่ ๕ สร้างส่วนบริการ ประกอบด้วย พื้นที่บริการอื่น ๆ เช่น บ้านพักสำหรับการบำบัดรักษา (Nursing Home) พื้นที่จอดรถ (สำรอง) ลานอเนกประสงค์ ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วย ป้อมยาม พื้นที่จอดรถบัส ที่จอดรถ ลานน้ำพุ ลานจัดกิจกรรมกลางแจ้งและลานอเนกประสงค์ สระน้ำ บ่อบำบัดน้ำชีวภาพ ๑ บ่อบำบัดน้ำชีวภาพ ๒ บ่อบำบัดน้ำชีวภาพ ๓ อาคารซ่อมบำรุง บริเวณกำจัดขยะ
โครงการระยะที่ ๑ (Zone A) พื้นที่ประมาณ ๑๒๑,๒๘๔ ตารางเมตร ประกอบด้วย ทางเข้าโครงการ อาคารพิพิธภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ อาคารวิจัยและพัฒนาสมุนไพร อาคารพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร อาคารเตรียมวัตถุดิบสมุนไพร บริเวณที่จอดรถ อาคารหมู่เรือนไทย (แพทย์แผนไทยเพื่อการบำบัดรักษา) อาคารบริการและบ้านพัก ระบบสาธารณูปโภค ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๖๙,๗๘๐,๐๐๐ ล้านบาท
โครงการระยะที่ ๒ (Zone B) พื้นที่ประมาณ ๓๒,๖๒๘ ตารางเมตร ประกอบด้วย ศูนย์การเรียนรู้ สวนสมุนไพรสาธิต ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๔๔,๙๔๐,๐๐๐ ล้านบาท
โครงการระยะที่ ๓ (Zone C) พื้นที่ประมาณ ๑๖๓,๖๘๔ ตารางเมตร ประกอบด้วย ส่วนบริการแพทย์ทางเลือก (ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ) ลานวงเวียนน้ำพุ ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๒๒๙,๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท
โครงการระยะที่ ๔ (Zone D) พื้นที่ประมาณ ๘๒,๐๖๔ ตารางเมตร ประกอบด้วย พื้นที่เกษตรกรรมสมุนไพรและแปลงสาธิต หมู่บ้านอีสานใต้ (พืชสมุนไพรพื้นบ้าน) ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๒๙,๘๓๐,๐๐๐ ล้านบาท
โครงการระยะที่ ๕ (Zone E) พื้นที่ประมาณ ๘๓,๖๓๘ ตารางเมตร ประกอบด้วย ส่วนวิจัยและแปรรูป และพื้นที่บริการ เช่น อาคารซ่อมบำรุง บ่อบำบัดน้ำชีวภาพ บริเวณกำจัดขยะ เรือนเพาะชำ/ปุ๋ย ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๑๖,๘๔๐,๐๐๐ ล้านบาท
๘.๒ จัดทำงบประมาณในการก่อสร้าง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทันที เมื่อได้รับงบประมาณ โดยการจัดทำแผนการงบประมาณโครงการ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ โซน ดังนี้:-
โครงการระยะที่ ๑ (Zone A) ประกอบด้วย ทางเข้าโครงการ อาคารพิพิธภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ อาคารวิจัยและพัฒนาสมุนไพร อาคารพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร อาคารเตรียมวัตถุดิบสมุนไพร บริเวณที่จอดรถ อาคารหมู่เรือนไทย (แพทย์แผนไทยเพื่อการบำบัดรักษา) อาคารบริการและบ้านพัก ระบบสาธารณูปโภค ระยะเวลาโครงการ ๑-๓ ปี ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๖๙,๗๘๐,๐๐๐ ล้านบาท
โครงการระยะที่ ๒ ประกอบด้วย (Zone B) ศูนย์การเรียนรู้ สวนสมุนไพรสาธิต ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๔๔,๙๔๐,๐๐๐ ล้านบาท และ (Zone C) ส่วนบริการแพทย์ทางเลือก (ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ) ลานวงเวียนน้ำพุ ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๒๒๙,๗๐๐,๐๐๐ ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ ๑ ปี รวมงบประมาณดำเนินการประมาณ ๒๗๔,๖๔๐,๐๐๐ ล้านบาท
โครงการระยะที่ ๓ (Zone D) ประกอบด้วย พื้นที่เกษตรกรรมสมุนไพรและแปลงสาธิต หมู่บ้านอีสานใต้ (พืชสมุนไพรพื้นบ้าน) ระยะเวลาโครงการ ๑ ปี ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๒๙,๘๓๐,๐๐๐ ล้านบาท
โครงการระยะที่ ๔ (Zone E) ประกอบด้วย ส่วนวิจัยและแปรรูป และพื้นที่บริการ เช่น อาคารซ่อมบำรุง บ่อบำบัดน้ำชีวภาพ บริเวณกำจัดขยะ เรือนเพาะชำ/ปุ๋ย ระยะเวลาโครงการ ๑ ปี ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๑๖,๘๔๐,๐๐๐ ล้านบาท
ใช้งบประมาณในการดำเนินการทั้งสิ้น ๖๙๑,๐๙๐,๐๐๐ บาท
๘.๓ ดำเนินการจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนายารักษาโรคจากสมุนไพร ซึ่งเป็นโครงการวิจัยหลัก โดยมีวัตถุ
ประสงค์ เพื่อที่จะนำเอาสมุนไพรที่มีประวัติศาสตร์ในการรักษาโรคตามตำรายาแพทย์แผนไทย ตามคำบอกเล่าต่อ ๆ กันมา และสมุนไพรที่ชาวบ้านนิยมใช้รักษาโรคมาทำการศึกษาวิเคราะห์หาสาระสำคัญที่ออกฤทธิ์ ตลอดจนพิษของสมุนไพรที่ควรระวังตามขบวนการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบวงจร เพื่อพิสูจน์ว่าสมุนไพรดังกล่าวนั้น มีศักยภาพในการรักษาโรคได้จริงหรือไม่ และมีความปลอดภัยในการใช้ต่อประชาชนเพียงใด ถ้าสมุนไพรดังกล่าวมีศักยภาพเพียงพอต่อการรักษาโรคได้จริง ก็จะนำมาพัฒนาเป็นยารักษาในผู้ป่วยต่อไป
๘.๔ ดำเนินการจัดสร้างศูนย์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ขึ้น ณ วัดยานนาวา และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับโครงการวิจัย โดยนำยาที่พัฒนาและผลิตได้มาใช้ในการรักโรคในผู้ป่วย ภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์เวชกรรมไทย เมื่อการพัฒนาแปรรูปประสบความสำเร็จ จะดำเนินการขยายศูนย์การแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกไปต่างประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้ตั้งเป้าหมายไว้ที่ วัดนวมินทรราชูทิศเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี นครบอสตัน
รัฐแมสซาซูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และวัดนวมินทรราชูทิศ เฉลิมพระเกียรติฯ เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส