๑. ความเป็นมา
ด้วยมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ได้จัดสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ณ บ้านปลาดุก หมู่ ๓ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมีพันธกิจในการบำบัดโรคภัยดูแลสุขภาพพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ในชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๒๐ จังหวัด ซึ่งเป็นพระภิกษุ สามเณi และประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพพระภิกษุ สามเณร เพื่อหาทางร่วมกันป้องกันแก้ไขปัญหา โดยการส่งเสริมพัฒนาสุขภาพของพระภิกษุ สามเณร ตลอดจนถึงสุขภาพของประชาชนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเพื่อพระภิกษุสามเณร ปลอดโรคภัยไข้เจ็บ และมีสุขภาพอนามัยดีแล้วจะได้ปฏิบัติศาสนกิจในการเผยแพร่ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม สงเคราะห์ อนุเคราะห์ประชาชน จรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญมั่นคงเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประชาชนพลเมืองมีสุขภาพดีก็ยังประโยชน์และสันติสุขให้เกิดแก่ประเทศชาติบ้านเมือง
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทราบถึงปัญหาและทรงห่วงใยในสุขภาพของพระภิกษุ สามเณรและประชาชน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานโครงการก่อสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ อยู่ในโครงการเฉลิมพระเกียรติ ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ และรับโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่สำหรับพระภิกษุ สามเณร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ ครั้งนี้ ไว้ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารด้วย
ซึ่งนับว่าเป็นพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ดังนั้น มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐พรรษา มหาวชิราลงกรณ และโรงพยาบาล ๕๐พรรษา มหาวชิราลงกรณในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้เล็งเห็นความสำคัญนี จึงได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข มูลนิธิพระรัตนตรัยในพระราชูปถัมภ์ฯ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีน มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จัดทำโครงการฝึกอบรม
“ การสร้างเสริมสุขภาพองค์รวมสำหรับหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่ พระภิกษุ สามเณร ในพระราชูปถัมภ์ฯ ” ขึ้น ซึ่งคาดหวังว่าการจัดโครงการฝึกอบรมในครั้งนี้จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับพระภิกษุ สามเณร ของประเทศอย่างยั่งยืนตลอดไป
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อทราบแนวทางการดำเนินงานหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่ในการปฏิบัตงาน
๒.๒ เพี่อนำหลักพระพุทธศาสนามาประยุกต์เข้ากับระบบบริการทางการแพทย์ และการสาธารณสุขแบบองค์รวม
๒.๓ เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพและองค์ความรู้ในการบูรณาการสู่สุขภาพดีของพระภิกษุ สามเณร ทั่วประเทศ
๒.๔ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ให้เป็นหลักธรรมประจำใจในการให้บริการด้วยหัวใจของความเป็นมนุษย์
๒.๕ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมภาคเครือข่ายสุขภาพขององค์กรหลัก และหาความร่วมมือและการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนและ ประชาชนให้มีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของการดำเนินงาน เพื่อสุขภาพของพระภิกษุ สามเณร อย่างยั่งยืน
๓. จำนวนผู้เข้าอบรม 350 คน ประกอบด้วย
๓.๑ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช แห่งละ ๒ คน
๓.๒ ผู้ประสานงารโครงการหน่วยแพทย์พระราชทานเคลื่อนที่ฯ จังหวัดละ ๒ คน
๓.๓ อธิการบดี และ/หรือ คณบดี หรือผู้ที่ได้รับการมอบหมาย
๔. วิธีการอบรม
๔.๑ การบรรยาย
๔.๒ การอภิปราย
๔.๓ การประชุมเชิงปฏิบัติการ
๔.๔ การปฏิบัติการภาคสนาม
๕. หัวข้อในการประชุม
๕.๑ การประยุกต์และการผสมผสานหลักพุทธธรรมให้เข้ากับระบบบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข
๕.๒ การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสู่ระบบบริการที่มีหัวใจของความเป็ยมนุษย์
๕.๓ การพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพพระภิกษุ สามเณร แบบองค์รวมอย่างยั่งยืน
๕.๔ การบูรณาการแพทย์แผนปัจจุบัน แพทย์แผนไทย และแพทย์แผนจีน
๕.๕ ปฏิบัติการภาคสนามในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายสุขภาพเพื่อ พระภิกษุ สามเณร
๕.๖ การกวืจัยพัฒนาบูรณาการธรรมมะในพระพุทธศาสนาเพื่อการยกระดับสุขภาพองค์รวมเพื่อความมั่นคงของประเทศชาติ
๖. ระยะเวลาในการอบรม
ตั้งแต่วันที่ ๗ – ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
๗. สถานที่จัดอบรม
โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ บ้านปลาดุก หมู่ ๓ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
๘. งบประมาณในการดำเนินการ
๘.๑ มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
๘.๒ โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ
๘.๓ ค่าเบี้ยเลี้ยง, ค่าเดินทาง, ค่าที่พัก ผู้เข้าอบรมเบิกจากต้นสังกัด
๙. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
๙.๑ มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
๙.๒ โรงพยาบาล ๕๐พรรษา มหาวชิราลงกรณในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
๙.๓ กระทรวงสาธารณสุข
๙.๔ มูลนิธิพระรัตนตรัย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
๙.๕ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
๙.๖ สมาคมศาสตร์การแพทย์แผนจีน
๙.๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
๙.๘ มหาวิทยาลัยหัวเฉลียวเฉลิมพระเกียรติ
๙.๙ มหาวิทยาลัยรังสิต
๙.๑๐ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
๙.๑๑ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
๙.๑๒ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
๑๐. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑๐.๑ ผู้รับการอบรมทราบแนวทางประสานงานและปฏิบัติในการดำเนินงานหน่วยแพทย์พระราชทานฯ
๑๐.๒ ผู้เข้ารับการอบรมมีความสามารถใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาสามารถนำมาประยุกต์เข้ากับระบบบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขได้อย่างถูกต้อง
๑๐.๓ ผู้เข้ารับการอบรมมีองค์ความรู้และศักยภาพในการบูรณาการสู่สุขภาพดีของพระภิกษุ สามเณร
๑๐.๔ ผู้เข้ารับการอบรม สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ทำให้เกิดตัวอย่าง บริการสุขภาพแบบองค์รวม และผสมผสานนำไปสู่การจัด บริการสุขภาพด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์
๑๐.๕ เกิดองค์กรและเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และประชาชนมีส่วนร่วมและทำให้การสนับสนุนพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น
พระภิกษุ สามเณร
๑๐.๖ โครงการเป็นแบบอย่างของการบูรณาการธรรมะในพระพุทธศาสนา เพื่อการยกระดับสุขภาพของคนในสังคมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและจริยธรรมของคนในสังคมทำให้เกิดความมั่นคงของประเทศ