สรุปความก้าวหน้า

 

 

มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
สรุปความก้าวหน้าและผลการดำเนินงานประจำปี ๒๕๕๑
.................................................................
  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงห่วงใยสุขภาพของพระภิกษุ สามเณร และประชาชน จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสงฆ์นี้ เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลเฉลิมพระชนม์ ๕๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ พร้อมพระราชทานนามโรงพยาบาลนี้ว่า “โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ” และได้เสด็จฯพร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ไปทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลแห่งนี้ที่บ้านปลาดุก หมู่ ๓ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕
  เพื่อให้กิจกรรมและโครงการก่อสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณดังกล่าว ดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมาย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คณะกรรมการโครงการฯจัดตั้งมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณขึ้น เพื่อสนับสนุนโครงการฯ โดยได้รับอนุญาตจากทางราชการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เลขที่อนุญาต ต.๔๘๑/๒๕๔๕ เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕ โดยมีความก้าวหน้าและผลงานการดำเนินการ ดังนี้ :-
 
งานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว
     ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมต่าง ๆ  เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ :- 
      ๑. จัดทำจุลสาร “วชิรญาณเวช” ของมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ จำนวน ๓ ครั้ง ๆ ละ ๕,๐๐๐ ฉบับ (มกราคม-เมษายน) (พฤษภาคม-สิงหาคม) (กันยายน-ธันวาคม) รวมทั้งสิ้นจำนวน ๑๕,๐๐๐ ฉบับ
    ๒. ดำเนินการวางตู้รับบริจาคตามสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้เงินบริจาคทั้งสิ้น ๔๙๑,๗๖๐ บาท (สี่แสนเก้าหมื่นหนึ่งพันเจ็ดร้อยหกสิบบาทถ้วน) (ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
    ๓. ให้เช่าบูชาพระและเหรียญพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ ได้รับเงินบริจาค จำนวน ๕๙๐,๔๙๔ บาท (ห้าแสนเก้าหมื่นสี่ร้อยเก้าสิบสี่บาทถ้วน) (ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
     ๔. จัดทำใบอนุญาตให้มีการเรี่ยไร ประจำปี ๒๕๕๑ (วันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๒)
    ๕. จัดทำโครงการทอดผ้าป่ามหากุศลถวายเป็นพระราชกุศล สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๕๑ ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น ๑,๐๒๑,๐๔๐.๔๙ บาท (หนึ่งล้านสองหมื่นหนึ่งพันสี่สิบบาทสี่สิบเก้าสตางค์)
    ๖. จำหน่ายนาฬิกาเฉลิมพระเกียรติมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ได้รับเงินจำนวน            ๑,๐๕๙,๐๓๑.๗๐ บาท หักต้นทุน คืนสมาคมพัฒนาแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทย จำนวน ๗๘๗,๗๔๕ บาท ฉะนั้นคงเหลือเงินเข้ามูลนิธิฯ จำนวน ๒๗๑,๒๘๖.๗๐ บาท (สองแสนเจ็ดหมื่นหนึ่งพันสองร้อยแปดสิบหกบาทเจ็ดสิบสตางค์) (รายได้ตั้งแต่วันที่ ๒๔ เมษายน ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑)
     ๗. ประกอบกิจการเปิดศูนย์สุขภาพแพทย์แผนไทยพัฒนา ให้บริการนวดรักษาแก่ประชาชนทั่วไป  ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระยะเวลาเช่า ๑ ปี ๔ เดือน นับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๒     ได้รับเงินจำนวน ๒๙๗,๙๐๐ บาท (สองแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยบาทถ้วน)  (รายได้ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มิถุนายน ถึงวันที่     ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑) โดยมีผู้ป่วยมารับบริการเป็นชาย ๔๑๗ ราย หญิง ๗๖๒ ราย รวมทั้งสิ้น ๑,๑๗๙ ราย 
    ๘. ร่วมกับ บริษัท ศรีอุบลไตเทียม จำกัด จัดทำโครงการเปิดบริการไตเทียมเพื่อพระภิกษุสงฆ์ ข้าราชการ และประกันสังคม เพื่อใช้ในโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ได้รับเงินทั้งสิ้น ๒,๐๗๘,๓๐๐ บาท หัก ๗๐% ให้บริษัทศรีอุบลไตเทียม เป็นเงิน ๑,๔๘๔,๙๖๐ ส่วนที่เหลือ ๓๐% เข้ามูลนิธิฯ เป็นเงิน ๕๙๓,๓๔๐ บาท (ห้าแสนเก้าหมื่นสามพันสามร้อยสี่สิบบาทถ้วน) (รายได้ตั้งแต่วันที่ ๑ กรกฎาคม - ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๑) โดยมีผู้ป่วยมารับบริการจำนวน ๑,๐๔๐ ราย
     ๙. ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  ณ  สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๑
     ๑๐. จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.๒๕๕๐ วันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๕๑
    ๑๑. จัดทำรายการพิเศษ “รวมน้ำใจสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ” ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย NBT ในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๕๑ ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้น ๑,๒๘๗,๓๘๒ บาท (หนึ่งล้านสองแสนแปดหมื่นเจ็ดพันสามร้อยแปดสิบสองบาทถ้วน)
     ๑๒. ดำเนินการเปิดบริการโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ เมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๕๑
    ๑๓. ร่วมบันทึกเทปถวายพระพรเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง ๕ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
   ๑๔. ร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุด และจังหวัดอุบลราชธานี จัดทำโครงการทอดกฐินพระราชทานโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบทุนสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๑  ณ  พุทธสถานพรหมวชิรญาณ  โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ  ได้รับเงินบริจาคทั้งสิ้นจำนวน ๗,๑๔๔,๓๑๒.๕๐ บาท (เจ็ดล้านหนึ่งแสนสี่หมื่นสี่พันสามร้อยสิบสองบาทห้าสิบสตางค์)
     ๑๕. ลงนามสัญญาเช่าพื้นที่ห้อง A ๔ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบกิจการเปิดศูนย์สุขภาพแพทย์แผนไทยพัฒนา (เพิ่มเติม) ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ระยะเวลาเช่า ๓ ปี  นับตั้งแต่วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๑ ถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
  ๑๖. จัดการประชุมคณะกรรมการบริหารมูลนิธิโรงพยาบาล   ๕๐   พรรษา  มหาวชิราลงกรณ ทั้งหมดจำนวน ๕ ครั้ง 
  รวมเงินบริจาคในปี ๒๕๕๑ เป็นจำนวน ๑๑,๖๙๗,๕๑๕.๖๙ บาท)
(สิบเอ็ดล้านหกแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันห้าร้อยสิบห้าบาทหกสิบเก้าสตางค์)

งานที่กำลังดำเนินการ
๑. จัดสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ในโครงการส่วนที่ ๑ ระยะที่ ๓ ดำเนิน
การจัดสร้างอาคารรักษาพยาบาลผู้ป่วยและอาคารบ้านพักเจ้าหน้าที่ประกอบด้วย
๑.๑ อาคารรักษาพยาบาลผู้ป่วย ๙ ชั้น ๓๓๐ เตียง (เป็นอาคารคู่แฝดเชื่อมติดกัน เลขที่แบบ ๑๐๒๒๐)
๑ หลัง ได้ของบประมาณกระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว ในปี ๒๕๔๙-๒๕๕๐ ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติ ขณะนี้กำลังของบประมาณกระทรวงสาธารณสุขใหม่อีกในปี ๒๕๕๑ ซึ่งประกอบด้วย
- อาคารวินิจฉัยและหอผู้ป่วย  ๙ ชั้น (ดูแลพระภิกษุสงฆ์อาพาธ)  ใช้งบประมาณดำเนินการ
ก่อสร้างประมาณ ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
   - อาคารรักษาพยาบาลและหอผู้ป่วย ๙ ชั้น (ดูแลประชาชนทั่วไป) ใช้งบประมาณดำเนินการ
ก่อสร้างประมาณ ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๑.๒ อาคารพักแพทย์ ๖ ชั้น (เลขที่แบบ ๘๔๔๐) ๑ หลัง  ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๒๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ได้ของบประมาณกระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว ในปี ๒๕๔๙-๒๕๕๑ ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติ ขณะนี้กำลังของบประมาณกระทรวงสาธารณสุขใหม่อีกในปี ๒๕๕๒
  ๑.๓ อาคารพักพยาบาล ๓ ชั้น (เลขที่แบบ ๓๘๕๒/๓๖) ๔ หลัง ๆ ละ ๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง ๒๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ได้ของบประมาณกระทรวงสาธารณสุขไปแล้ว ในปี ๒๕๔๙-๒๕๕๑ ซึ่งไม่ได้รับอนุมัติ ขณะนี้กำลังของบประมาณกระทรวงสาธารณสุขใหม่อีกในปี ๒๕๕๒ 

รวมงบประมาณดำเนินการระยะที่ ๓ จำนวน ๔๕๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
หมายเหตุ  ข้อ ๑.๑ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ จำนวนเงิน ๓๘๕,๐๐๐,๐๐๐  
บาท (สามร้อยแปดสิบห้าล้านบาทถ้วน)
      ๒. จัดสร้างสถานพำนักพักฟื้นเฉลิมพระเกียรติ ในโครงการส่วนที่ ๒ โดยดำเนินการจัดสร้าง บนพื้นที่ ๓๔ ไร่ มีวัตถุประสงค์ เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั่วไป  เป็นสถานที่ให้คำปรึกษาและ  อบรมทางด้านจิตใจของผู้ป่วยและประชาชน อาคารพักฟื้นพระสงฆ์อาพาธ (อาคารชั้นเดียว) จำนวน ๒ หลัง (เลขที่แบบ ๑๐๒๒๑) ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกสิบล้านบาทถ้วน)
รวมงบประมาณดำเนินการประมาณ ๖๐ ล้านบาท
หมายเหตุ  ข้อ ๒. ได้รับงบประมาณเงินสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข ในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ จำนวน ๑ หลัง เป็นเงิน ๒๐,๘๔๓,๐๐๐ บาท (ยี่สิบล้านแปดแสนสี่หมื่นสามพันบาทถ้วน) ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าแล้วเสร็จตามสัญญาในเดือนธันวาคมปี ๒๕๕๑ นี้
 
 
งานที่จะดำเนินการในอนาคต
   ดำเนินการและจัดสร้างสถาบันวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย “เฉลิมพระเกียรติมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา” ในโครงการส่วนที่ ๓ โครงการ/กิจกรรม จัดสร้างสถาบันวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย “เฉลิมพระเกียรติมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา” บนพื้นที่ ๓๒๐ ไร่ ณ ที่สาธารณหมู่บ้านกระโสบ  หมู่  ๔  ตำบลกระโสบ  อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี   โดยมีวัตถุประสงค์   เพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระชนมายุครบ ๘๐ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐  มีพระชนมายุครบ ๘๒ พรรษา  ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒      มีพระชนมายุครบ ๘๔ พรรษา  ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ (๗ รอบ) และมีพระชนมายุครบ ๘๕ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นปีที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๕๕  เพื่อเป็นแหล่งต้นแบบตัวอย่างด้านการเกษตรพอเพียง  ตามรอยเบื้องยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดช   เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พันธุ์ไม้สมุนไพรที่หายาก สมุนไพรที่มีประวัติรักษาโรค สมุนไพรที่ใช้ในทาง   สาธารณสุขมูลฐาน  และสมุนไพรที่ประชาชนนิยมใช้    เป็นสถานที่สำหรับปลูกเพาะพันธุ์กล้าไม้สมุนไพรไทย และเป็นที่สาธิตการทดลองใช้สมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อใช้ในโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทยเพื่อบำบัดโรค   เป็นแหล่งทัศนศึกษาและเผยแพร่แลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับประโยชน์และโทษที่ควรระวังของสมุนไพรไทยตลอดจนการใช้สมุนไพรไทยให้ถูกต้องและปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและประชาชน  โดยใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ  ๖๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (หกสิบล้านบาทถ้วน)  โครงการส่วนนี้ประกอบด้วย
๑.  พื้นที่ ๒๐ ไร่ ดำเนินการจัดสร้างอาคารสิ่งก่อสร้างดังนี้ :-
 ๑.๑  อาคารพิพิธภัณฑ์สมุนไพรแห่งชาติ (๒ ชั้น) ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
 ๑.๒  อาคารวิจัยสมุนไพร (๓ ชั้น) ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท ประกอบด้วย
- วิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพและเวชศาสตร์
- ผลิตและแปรรูปสมุนไพร ระดับอุตสาหกรรม
 ๑.๓  อาคารพัฒนาแพทย์แผนไทย (๒ ชั้น) ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
๑.๔  อาคารพัฒนาวัตถุดิบสมุนไพร (๒ ชั้น) ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
 ๑.๕  อาคารแสดง/จำหน่ายยาไทยและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (๒ ชั้น) ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ    
                 ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท ประกอบด้วย
  - แสดงและจำหน่ายสินค้า
  - เก็บสต็อกสินค้าสำเร็จรูป
 ๑.๖  อาคารพักเจ้าหน้าที่ (๒ หลัง) ใช้งบประมาณดำเนินการประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐ บาท
 ๒. พื้นที่ ๒๗๕  ไร่  ดำเนินการปลูกและทำแปลง เพื่อใช้ในโครงการศึกษาและวิจัยในโครงการสวนสมุนไพร ซึ่งจะจัดตามหมวดหมู่ของการใช้ประโยชน์จากสมุนไพรและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพรที่หายากและสมุนไพรที่ประชาชนนิยมใช้  (โครงการระยะที่ ๑) จะดำเนินการดังนี้ :-
๒.๑  กลุ่มไม้หอมและไม้ไทย  ได้แก่ กฤษณา บุนนาค พะยอม ลำดวน จำปี จำปา ฯลฯ
๒.๒  กลุ่มยาบำรุงหัวใจ  ได้แก่ พิกุล จันกะพ้อ สารภี กระดังงา การะเวก ฯลฯ
๒.๓  กลุ่มยาสมุนไพรที่มีประวัติรักษาโรคมะเร็ง  เช่น พญาสัตตบรรณ ชิงชี่ ข่อย ตะโกราชดัด
แพงพวยฝรั่ง  ทองพันชั่ง ขันทองพยาบาล เหงือกปลาหมอ ดองดึง พระจันทร์ครึ่งซีก คงคาเดือด ฯลฯ
๒.๔  กลุ่มยารักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน  ได้แก่ ชุมเห็ดเทศ หมาก พลู ฯลฯ
๒.๕  กลุ่มยาขมเจริญอาหาร แก้ไข้ ขับปัสสาวะ  ได้แก่ จำปา จันทร์เทศ สมอไทย สมอพิเภก
หญ้าหนวดแมว  ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด ฯลฯ
๒.๖  กลุ่มยาถ่าย ยาระบาย แก้บิด ขับพยาธิ  ได้แก่ มะเกลือ มะขาม สมอพิเภก สมอไทย
มะหาด  มะขามแขก ฯลฯ
๒.๗  กลุ่มยาขับลม  ได้แก่ การบูร กานพลู ดีปลี พริกไทย แมงลัก ฯลฯ
  ๒.๘ กลุ่มยาขับโลหิตระดูสตรี บำรุงโลหิต  ได้แก่  กรับ  แก่นขนุนละมุด  กระบือเจ็ดตัว  แก้ว  กำลังช้างเผือกหรือกำลังช้างสาร  กำลังวัวเถลิง (กำลังทรพี)  ขี้เหล็กเลือด  คำไทย  คำฝอย  ประดู่ลาย  เป้าใหญ่  เป้าน้อย  ฝ้ายขาว  ส้มเสี้ยว  แสมทะเล  แสมสาร  สมอดีงู  หางนกยูง  กำแพงเจ็ดชั้น  ขมิ้นเครือ  คัดเค้า  ไพล  รำพันแดง  รำพันขาว  สิงหโมรา  ผักเป็ดแดง  ผักเป็ดขาว  ผักปรัง  ผักหวานบ้าน  ผักหวานป่า  ผักเสี้ยนไทย  ขอดชะนางขาว  ขอดชะนางแดง  หญ้าไทร
 ๓. พื้นที่ ๒๕ ไร่ ดำเนินการจัดทำพื้นที่ด้านการเกษตรพอเพียงตามรอยเบื้องพระยุคลบาท เพื่อโครงการส่วนที่ ๓ (สถาบันวิจัยและพัฒนาสมุนไพรไทย “เฉลิมพระเกียรติมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา”) สามารถเลี้ยงตัวเองได้อย่างครบวงจร ดังนี้ :-
  ๓.๑  พื้นที่ ๑๕ ไร่ ดำเนินการจัดทำแปลงปลูกข้าว
  ๓.๒  พื้นที่ ๕ ไร่ ดำเนินการจัดทำพืชไร่-พืชสวน และพืชส่วนผสม
  ๓.๓  พื้นที่ ๕ ไร่ ดำเนินการเลี้ยงสัตว์
 
ปัจจุบัน มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ได้ดำเนินการโครงการส่วนที่ ๓ ไปแล้ว ดังนี้ :-
 ๑. ดำเนินการล้อมรั้วรอบพื้นที่  ประตูเข้าออก  และป้ายชื่อโครงการฯใช้เงินดำเนินการ เป็นเงิน ๓,๒๓๐,๐๐๐ บาท    (สามล้านสองแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
 ๒. ดำเนินการปรับพื้นที่ ทำถนนหลักกว้าง ๑๐ เมตร และถนนโดยรอบโครงการฯกว้าง ๖ เมตร พร้อมท่อระบายน้ำ โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
 ๓. ได้รับการสนับสนุนจาก หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ ๕๖ ดำเนินการขุดสระน้ำตามแบบแปลนของกองแบบแผน กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในเดือนกันยายน ๒๕๕๒ นี้
 ๔. จะดำเนินการวางศิลาฤกษ์อาคารวิจัยและพัฒนา ในราวเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุครบ ๘๒ พรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒
................................................
 



สมัครรับข่าวสาร สุขภาพกับโรงพยาบาล มหาวชิราลงกรณ update กิจกรรมดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพมากมาย
อีเมล:
รับข่าวสาร
ยกเลิก

Valid XHTML 1.0 Transitional

มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
1648 อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา ถ.เจริญกรุง ข.สาธร กทม. 10120
โทร.0-2673-9940-3 ,โทรสาร.0-2673-9941, อีเมล์:info50amfh.org@gmail.com
© All rights reserved. Floral Design. 2009
จำนวนผู้เข้าชม