โครงการโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ


โครงการโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
(โครงการส่วนที่ ๑)

 


๑. ความเป็นมา
 ในอดีตที่ผ่านมา พระสงฆ์ในชนบทเวลาอาพาธจะต้องเข้ารับการบำบัดรักษาที่โรงพยาบาลท้องถิ่นในอำเภอ หรือในจังหวัดของตน  ปะปนและแออัดกับคนไข้คฤหัสถ์  ซึ่งมีจำนวนมากอยู่แล้ว จนเตียงและห้องไม่เพียงพอ อันเป็นภาพไม่เหมาะสม
 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงทราบถึงปัญหาของพระภิกษุสงฆ์อาพาธ และทรงตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯรับโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสงฆ์ ซึ่งคณะสงฆ์และประชาชน ๑๙ จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดำริจัดสร้างขึ้น เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลเฉลิมพระชนม์ ๕๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ พร้อมพระราชทานนามโรงพยาบาลนี้ว่า โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลง กรณ และได้เสด็จฯ พร้อมด้วย พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ไปทรงวางศิลาฤกษ์โรงพยาบาลแห่งนี้ ณ บ้านปลาดุก ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ  วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๕ ภายใต้การสนับสนุนของมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยพระราชานุญาต สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

 

๒. วัตถุประสงค์
 มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาการทางการแพทย์ในสาขาต่างๆ โดยการศึกษาวิจัย ถ่ายทอดความรู้ พัฒนาบุคลากร และบำบัดรักษาผู้ป่วย พระภิกษุ สามเณร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด และประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ให้มีคุณภาพมาตรฐานและผู้รับการบริการพึงพอใจ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ :-
 ๑. ให้บริการด้านการแพทย์ รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้ป่วยที่เป็นพระภิกษุ สามเณร ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด
 ๒. ให้บริการด้านส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วยและประชาชนในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างมีคุณภาพ  โดยจัดให้มีบริการเพื่อรองรับการส่งต่อผู้ป่วยสาขาต่าง ๆ
 ๓. เป็นศูนย์ศึกษา  วิเคราะห์ วิจัย  พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆ ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทักษะการปฏิบัติงานด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ สาขาต่างๆ แก่แพทย์และบุคลากรทางด้านสุขภาพในสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชน
 ๔. เป็นต้นแบบการบริหารจัดการโรงพยาบาลรูปแบบใหม่ ให้มีความคล่องตัวเหมือนเอกชน และอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐ
  
๓. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
 ๑. มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
 ๒. คณะกรรมการโครงการก่อสร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
 ๓. จังหวัดอุบลราชธานี
 ๔. กระทรวงสาธารณสุข
 
๔. กลวิธีดำเนินการ
 เป็นโครงการ / กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสมีพระชนมายุครบ ๕๐ พรรษา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๕ แผนการดำเนินงานแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ดังนี้
 ส่วนที่ ๑  โครงการ / กิจกรรม สร้างโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ บนพื้นที่ ๗๑ ไร่ เป็นโรงพยาบาลขนาด ๔๐๐ เตียง มีวัตถุประสงค์ เพื่อดูแลสุขภาพพระภิกษุ สามเณร และประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศ และยังเป็นประโยชน์แก่ประชาชนในชนบทตลอดทั้งประชาชน ในประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้เคียงด้วย เช่น ลาว กัมพูชา และเวียดนามอีกด้วย โดยโครงการส่วนที่ ๑ ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ  ๗๐๘,๔๖๕,๙๒๔.๐๐ บาท โดยแบ่งโครงการออกเป็น ๓ ระยะ ดังนี้ ;-
 
 ระยะที่ ๑  ดำเนินการจัดสร้างอาคารหลัก เพื่อเปิดบริการผู้ป่วย จำนวน ๙๐ เตียง ดังนี้ ;-
  ๑.๑ อาคารคนไข้นอก (สมเด็จพระพุฒาจารย์ อุปเสณมหาเถร) ๔ ชั้น ๙๐ เตียง เลขที่แบบ ๙๘๙๓ ใช้
งบประมาณดำเนินการ ๖๘,๖๕๘,๐๙๒.๐๐ บาท ประกอบด้วย
  ชั้น ๑ ห้องเอกซเรย์  ห้องผ่าตัด  ห้องตรวจ  ห้องการเงิน  ห้องเก็บยา  ห้องลงทะเบียน  ห้องอุบัติเหตุ
 ชั้น ๒  ฝ่ายบริหาร  กลุ่มงานการพยาบาล  กลุ่มงานทันตกรรม  กลุ่มงานพยาธิวิทยา
  ฝ่ายพัสดุ  และห้องประชุม
 ชั้น ๓ หอผู้ป่วย ๔๕ เตียง
 ชั้น ๔ หอผู้ป่วย ๔๕ เตียง
  ๑.๒ อาคารบริการ (สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถาวรมหาเถร) ๒ ชั้น เลขที่แบบ ๙๘๑๔  ประกอบด้วย 
ครัว  อาหาร  ซักฟอก  นึ่งกลาง  และพัสดุ ใช้งบประมาณดำเนินการ ๑๓,๘๕๒,๐๓๒.๐๐ บาท
  ๑.๓ อาคารพักแพทย์ (พระเทพกิตติมุนี สมกิตฺติเถร) ๒๐ ยูนิต ๖ ชั้น เลขที่แบบ ๘๔๔๐ ใช้งบ
ประมาณดำเนินการ ๑๘,๗๘๙,๘๗๖.๐๐ บาท
   ๑.๔ วิหารพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกล
มหาสังฆปริณายก) เลขที่แบบ ๙๔๘๗ ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๕,๕๑๒,๙๐๐.๐๐ บาท
  ๑.๕ รั้วคอนกรีตบล็อก ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๑,๑๙๔,๔๒๔.๐๐ บาท 
     รวมงบประมาณดำเนินการระยะที่ ๑ จำนวน  ๑๐๘,๐๐๗,๓๒๔.๐๐ บาท
 
ระยะที่ ๒  ดำเนินการจัดสร้างอาคารต่างๆ เพื่อสนับสนุนการให้บริการผู้ป่วย  ประกอบด้วย
   ๒.๑ วิหารกลางสระน้ำ (พระพรหมวชิรญาณ เขมงฺกรมหาเถร) ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้าง 
ประมาณ ๗๒,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
   ๒.๒ อาคารอเนกประสงค์ (สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ฐานิสสรมหาเถร) ๒ ชั้น เลขที่แบบ ๑๐๐๙๑
พร้อมงานครุภัณฑ์ ประกอบด้วย ห้องประชุม และโรงอาหาร ร้านค้าสวัสดิการ และ สำนักงานมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ 
พรรษา มหาวชิราลงกรณ ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๒๒,๘๐๒,๘๐๐.๐๐ บาท
   ๒.๓ ทางเดินเชื่อม เลขที่แบบ ๙๔๘๒ ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๒,๕๐๐,๘๐๐.๐๐
บาท
   ๒.๔ ประปาภายนอก  ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๓,๕๕๐,๖๐๐.๐๐ บาท
   ๒.๕ ไฟฟ้าภายนอก  ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๗,๓๔๕,๔๐๐.๐๐ บาท
   ๒.๖ ระบบรวบรวมน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย (๔๐๐ เตียง) ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๙,๒๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท
   ๒.๗ อาคารพักพยาบาล (พลเอกชวลิต และ คุณหญิงพันธุ์เครือ  ยงใจยุทธ) ๒๐ ยูนิต ๑ หลัง (๓ ชั้น) 
เลขที่แบบ ๓๘๕๒/๓๖ ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๔,๙๖๐,๐๐๐.๐๐ บาท
   ๒.๘ ถนน ค.ส.ล. ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๑,๘๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
   ๒.๙ ตกแต่งภายในห้องผู้ป่วยพิเศษ ชั้น ๓, ๔ จำนวน ๑๐ ห้อง และห้องประชุม ชั้น ๒ จำนวน ๑ ห้อง ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๔,๒๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
    ๒.๑๐ ถนนลูกรังขนาด ๖ x ๔๕๐ เมตร ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๒๗๙,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๒.๑๑ ระบบการรักษาความปลอดภัย
- ระบบป้องกันอัคคีภัยภายในอาคาร
- ระบบป้องกันอุทกภัย
รวมงบประมาณดำเนินการระยะที่ ๒  จำนวน ๑๒๘,๖๕๘,๖๐๐.๐๐ บาท
 
ระยะที่ ๓  ดำเนินการจัดสร้างอาคารรักษาพยาบาลผู้ป่วยและอาคารบ้านพักเจ้าหน้าที่ประกอบด้วย
  ๓.๑ อาคารรักษาพยาบาลผู้ป่วย ๙ ชั้น ๓๓๐ เตียง (เป็นอาคารคู่แฝดเชื่อมติดกัน) เลขที่แบบ ๑๐๒๒๐
จำนวน ๑ หลัง ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ซึ่งประกอบด้วย
 - อาคารรักษาพยาบาลและหอผู้ป่วย ๙ ชั้น (ดูแลประชาชนทั่วไป) (สมเด็จพระมหารัชมังคลา
จารย์ วรปุญญมหาเถร) ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
 - อาคารวินิจฉัยและหอผู้ป่วย ๙ ชั้น (ดูแลพระภิกษุสงฆ์อาพาธ) (ชินกุง) ใช้งบประมาณดำเนิน
การก่อสร้างประมาณ ๒๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๓.๒ อาคารพักแพทย์ ๖ ชั้น เลขที่แบบ ๘๔๔๐ จำนวน ๑ หลัง ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้าง ประมาณ ๒๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๓.๓ อาคารพักพยาบาล ๓ ชั้น เลขที่แบบ ๓๘๕๒/๓๖ จำนวน ๔ หลัง ๆ ละ ๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๒๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๓.๔ บ้านพักคนงานเรือนแถว (๒ ชั้น) ๖ หน่วย เลขที่แบบ ๘๐๕๗ ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๑,๘๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๓.๕ งานภูมิสถาปัตย์โดยรอบบริเวณ ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๑๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๓.๖ เตาเผาขยะ ใช้งบประมาณดำเนินการก่อสร้างประมาณ ๓,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๓.๗ ระบบคอมพิวเตอร์ (LAN) ทั้ง Hardware และ Software
 ใช้ในด้านการตรวจรักษาพยาบาล   ประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
ใช้ในด้านการสื่อสารภายในองค์กร  ประมาณ ๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๓.๘ ระบบโทรศัพท์ภายในอาคารต่าง ๆ ประมาณ ๒,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท

     รวมงบประมาณดำเนินการระยะที่ ๓ จำนวน ๔๗๑,๘๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท
 การดำเนินการส่วนที่ ๑ จะดำเนินการจัดทำระยะที่ ๑ และ ๒ ก่อน และเปิดบริการรับผู้ป่วยในระยะแรก
๙๐ เตียง   ในวันที่  ๔  ตุลาคม  พ.ศ.๒๕๔๘   ส่วนระยะที่ ๓ จะแล้วเสร็จและสามารถเปิดบริการพระภิกษุ สามเณร และประชาชนได้ จำนวน ๔๐๐ เตียง  ในปี พ.ศ.๒๕๕๐ โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดโครงการ ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๐
      รวมงบประมาณดำเนินการ  ๗๐๘,๔๖๕,๙๒๔.๐๐  บาท
 
 ส่วนที่ ๒  แผนด้านครุภัณฑ์การแพทย์และสำนักงาน จะดำเนินการเป็น ๒ ระยะ คือ
  ระยะที่ ๑ เปิดดำเนินการระยะเริ่มต้น ๙๐ เตียง ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณในการดำเนินการนี้ประมาณ ๕๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ประกอบด้วยดังนี้ :-
  - ครุภัณฑ์การแพทย์  ซึ่งต้องใช้งบในการดำเนินการประมาณ ๔๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท   - ครุภัณฑ์สำนักงาน   ซึ่งต้องใช้งบในการดำเนินการประมาณ  ๕,๐๐๐,๐๐๐.๐๐   บาท 
      รวมเป็นเงินประมาณ  ๕๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐   บาท 

  ระยะที่ ๒ เปิดดำเนินการเป็นโรงพยาบาล ๔๐๐ เตียงเต็มรูปแบบ ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณในการดำเนินการนี้ประมาณ ๒๕๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท ประกอบด้วยดังนี้ :-
  - ครุภัณฑ์การแพทย์  ซึ่งต้องใช้งบในการดำเนินการประมาณ ๒๔๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท   - ครุภัณฑ์สำนักงาน   ซึ่งต้องใช้งบในการดำเนินการประมาณ  ๑๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท 
รวมเป็นเงินประมาณ  ๒๕๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท 
รวมเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ  ๓๐๐,๐๐๐,๐๐๐.๐๐  บาท
 
ส่วนที่ ๓  แผนด้านอัตรากำลังคน  ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข แบ่งเป็น ๒ ระยะดังนี้ :-
 ระยะที่ ๑ เปิดเป็นโรงพยาบาลขนาด ๙๐ เตียง โดยจะเปิดให้บริการในวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๕๔๘
 ระยะที่ ๒ เปิดเป็นโรงพยาบาลขนาด ๔๐๐ เตียง โดยจะเปิดบริการเมื่อมีการดำเนินการก่อสร้างเสร็จ
     
๕. กิจกรรมเป้าหมาย  
 รับผู้ป่วยพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ปีละประมาณ ๒๐,๐๐๐ - ๓๐,๐๐๐ ราย
 
๖. ระยะเวลาดำเนินการ
 ส่วนที่ ๑   ระยะที่ ๑-๒  ใช้เวลา ๒ ปี  (ปี ๒๕๔๖–๒๕๔๗)
    ระยะที่  ๓    ใช้เวลา ๓ ปี  (ปี ๒๕๔๘-๒๕๕๐)
 ส่วนที่ ๒   ใช้เวลา ๓ ปี  (ปี ๒๕๔๘-๒๕๕๐)
 ส่วนที่ ๓   ใช้เวลา ๓ ปี  (ปี ๒๕๔๘-๒๕๕๐)
 
๗. พื้นที่ดำเนินการ 
 โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ณ บ้านปลาดุก หมู่ ๓ ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ๓๔๐๐๐
 
๘. งบประมาณ
 ส่วนที่ ๑ (ระยะที่ ๑, ๒ และ ๓)  ใช้งบประมาณในการดำเนินการก่อสร้างประมาณ  ๗๐๘,๔๖๕,๙๒๔.๐๐ บาท 
  - ระยะที่ ๑ ใช้เงินบริจาคของมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ เป็นเงินประมาณ
๑๐๘,๐๐๗,๓๒๔.๐๐ บาท
  - ระยะที่ ๒  ใช้เงินบริจาคของมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ เป็นเงินประมาณ
๑๒๘,๖๕๘,๖๐๐.๐๐ บาท
- ระยะที่ ๓  ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข เป็นเงินประมาณ ๔๗๑,๘๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
ส่วนที่ ๒ ด้านครุภัณฑ์การแพทย์ฯและครุภัณฑ์อื่น ๆ ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข
ส่วนที่ ๓ ด้านอัตรากำลังคน ขอรับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข
 งบประมาณแบ่งออกเป็น ;-
 ๑. รายได้
  ๑.๑ การดำเนินการส่วนที่ ๑ ระยะที่ ๑ และระยะที่ ๒ ใช้เงินบริจาคมูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหา วชิราลงกรณ โดยจะเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ใช้งบประมาณ ๒๓๖,๖๖๕,๙๒๔.๐๐ บาท
  ๑.๒ การดำเนินการส่วนที่ ๑ ระยะที่ ๓  ของบประมาณสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข  เป็นเงินประมาณ  ๔๗๑,๘๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท
  ๑.๓ มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ จะดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อหารายได้
ดังนี้ :-
   - การขอบริจาค
   - การตั้งตู้บริจาค
   - การจัดรายการพิเศษทางสถานีฯ ช่อง ๕ และสถานีฯ ช่อง ๑๑
   - การจัดทำของที่ระลึก เช่น การจำหน่ายเทป
   - จัดการแสดง เช่น ดนตรีการกุศล
   - จัดเดิน-วิ่งการกุศล
   - จัดกอล์ฟ หรือ โบว์ลิ่งการกุศล
  เงินที่ได้ในการจัดกิจกรรมทั้งหมดให้นำเข้าบัญชี มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ  โดยนำเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย  ธนาคารไทยพาณิชย์  และธนาคารที่ทางมูลนิธิได้เปิดบัญชีไว้
 ๒. รายจ่าย
  ๒.๑ ส่วนของโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ให้ดำเนินการตามระเบียบของทางราชการ
  ๒.๒ ส่วนของโครงการฯ และมูลนิธิฯ ให้ดำเนินการจัดตั้งในรูปของคณะกรรมการดำเนินการซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนมูลนิธิฯ และผู้แทนจากภาครัฐและเอกชน ตามที่เห็นสมควร
 
๙. แผนดำเนินงาน
 ๑. โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ขออยู่ในพระสังฆราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
 ๒. มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ ขออยู่ในพระราชูปถัมภ์ของ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
 ๓. งานประชาสัมพันธ์และรับบริจาค
 ๔. ดำเนินการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ ตามกำลังเงินที่ได้รับการสนับสนุน
 ๕. ดำเนินการรับอาสาสมัครผู้มีจิตใจเป็นกุศล ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาช่วยงานของโครงการฯ
 ๖. รับบริจาควัสดุและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ และอื่นๆ
 
๑๐. อัตรากำลัง
 ขอรับการสนับสนุนจาก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตามบัญชีโครงสร้าง/ตำแหน่งโรงพยาบาลทั่วไป   กลุ่ม ๑ (ตามหนังสือที่ สธ ๐๒๐๑.๐๓๒/ว ๗๖ ลงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๕๔๗ เรื่อง ขอส่งบัญชีโครงสร้าง/ตำแหน่ง)
 
๑๑. ผลตอบแทนของโครงการด้านพัฒนา
 ๑. ผู้ป่วยทุกระดับชั้นที่มารับบริการจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
 ๒. ป้องกันการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม
 ๓. สามารถผลิตงานด้านค้นคว้าวิจัย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและประเทศชาติ
 ๔. จะเป็นหน่วยงานแรกของประเทศไทย ที่ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจ
 ๕. สามารถช่วยเหลือผู้ป่วย โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑๙ จังหวัด และยังเกิดประโยชน์สูงสุดแก่
พระสงฆ์ และประชาชนชาวกัมพูชา ลาว และเวียดนาม
 
๑๒. ความสอดคล้องกับเป้าหมาย
 ๑. เพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการบริการแก่พระภิกษุ สามเณรและประชาชน ทั้งทางร่างกายและจิตใจ
 ๒. เพิ่มประสิทธิภาพของระบบส่งต่อผู้ป่วย
 ๓. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทุกระดับ
 ๔. ส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข
 
๑๓. การติดตามผลและประเมินผลโครงการ
 ประเมินผลจากจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการบริการ
 
๑๔. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 ๑. พระภิกษุสามเณรได้รับบริการทางแพทย์ที่มีคุณภาพ
 ๒. ประชาชนในเขตชุมชน หมู่บ้าน และบริเวณใกล้เคียงได้รับการบริการตรวจรักษาอย่างมีคุณภาพและประทับใจในการบริการ
 ๓. เป็นการพัฒนาการบริการสู่ชุมชนระดับหมู่บ้าน ให้ได้รับประโยชน์สอดคล้องกับนโยบายเป้าหมายการพัฒนาแบบบูรณาการร่วมมือประสานงานกันระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน
 ๔. เป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับจังหวัดอุบลราชธานี
 
 
-------------------------------------------
                                                                                                                                                                                                                            สำนักงานมูลนิธิฯ
                                                                                                                                                                                                                      ๑๖ มกราคม ๒๕๔๙

 



สมัครรับข่าวสาร สุขภาพกับโรงพยาบาล มหาวชิราลงกรณ update กิจกรรมดีๆ เกี่ยวกับสุขภาพมากมาย
อีเมล:
รับข่าวสาร
ยกเลิก

Valid XHTML 1.0 Transitional

มูลนิธิโรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ
1648 อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ วัดยานนาวา ถ.เจริญกรุง ข.สาธร กทม. 10120
โทร.0-2673-9940-3 ,โทรสาร.0-2673-9941, อีเมล์:info50amfh.org@gmail.com
© All rights reserved. Floral Design. 2009
จำนวนผู้เข้าชม